เป็นตัวกันน้ำซึมระหว่างรอยต่อคอนกรีตอาคาร
อาคารที่มีห้องใต้ดินการป้องกันน้ำซึมย่อมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของการก่อสร้าง จุดที่น้ำจะซึมได้ก็คือ รอยต่อของเนื้อคอนกรีตระหว่างพื้นกับกำแพงพื้นกับคาน กำแพงกับคานและแนวต่อของคอนกรีต การป้องกันด้วย“รับเบอร์วอเตอร์สต๊อป” ระหว่างรอยต่อคอนกรีต จึงเป็นสิ่งสำคัญ
เชื่อมรอยต่อของคอนกรีตไม่ให้ร้าว
รอยร้าวของอาคารเป็นปัญหาสำคัญของการคำนวณทางวิศวกรรม โดยเฉพาะช่วงรอยต่อของคอนกรีต เช่นรอยต่อของพื้นกับคานที่เป็นจุดขยายตัวในการรับน้ำหนักที่ต่างกันหรือรอยต่อกำแพงของอาคารทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นทรงกลมหรือเหลี่ยม การป้องกันกระทำได้โดยการเสริม“รับเบอร์ วอเตอร์สต๊อป”ตามรอยต่อดังกล่าว
เชื่อมรอยต่อถนนคอนกรีต “รับเบอร์ วอเตอร์สต๊อป”
จะช่วยรับแนวอัดขยายของคอนกรีตตลอดจนรับน้ำหนักที่จุดของรอยต่อคอนกรีตได้เป็นอย่างดี
ประสานแนวต่อคอนกรีตที่ต้องหล่อในเวลาต่างกัน
ในบางกรณีที่ต้องหล่อคอนกรีตจำนวนมากๆ แต่ไม่สามารถหล่อให้เสร็จในวันเดียวกันได้จะต้องมีการหล่อเพิ่มเติมในวันรุ่งขึ้นหรือทิ้งระยะห่างกันหลายวัน ระหว่างรอยต่อคอนกรีตจะเป็นจุดเปราะของแผ่นเนื้อคอนกรีต “รับเบอร์ วอเตอร์สต๊อป” จะเป็นตัวประสานรอยเชื่อมของเนื้อคอนกรีตทั้งสองให้ยึดติดกันแน่นและเป็นเนื้อเดียวกันได้เป็นอย่างดี
การพิจารณาเลือกใช้แถบยางกันน้ำนี้ ควรพิจารณาใช้ระยะก่อนสร้างจะเป็นการดีที่สุด การที่จะมาแก้ปัญหารั่วซึมหรือการร้าวในระยะที่ไม่ใช้แถบยางกันน้ำในตอนหลัง จะมีปัญหายุ่งยากและจะใช้ค่าใช้จ่ายมากกว่าการใช้แถบยางในระยะแรก แถบยางกันน้ำวอเตอร์สต๊อปนี้แบ่งเป็นแบบใหญ่ ๆ ได้ 2 แบบ คือ
ขนาดความกว้างที่เลือกใช้
ความกว้างของวอเตอร์สต๊อปที่จะเลือกใช้ควรดูจากความหนาของคอนกรีตที่จะเท โดยกำหนดไว้ว่าความกว้างของวอเตอร์สต๊อปต้องไม่กว้างกว่าความหนาของคอนกรีต และต้องไม่น้อยกว่า 70% ของคอนกรีตที่จะเท